วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning)

http://www.wijai48.com/learning_stye/experince_learning/Cooperative_Learning.htm

โมเดลซิปปา (CIPPA MODEL)

http://e-learning.pbtc.ac.th/msomkid//mod/resource/view.php?id=342

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบโฟร์แมทซิสเต็ม (4 MAT’S Learning)

http://www.wijai48.com/learning_stye/developthinking/4math.htm

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ Child Center

http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiit-web1/ChildCent/Child_Center.htm

เนื้อหา - ประเด็นที่สำคัญ

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542

แนวทางในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542ในมาตรา 42 ถือ ว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้เป็นการส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนรู้ด้วย สมอง ด้วยกาย และด้วยใจ สามารถสร้างองค์ความรู้ผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเองมีส่วนร่วมในการเรียนการส อน เน้นการปฏิบัติจริง สามารถทำงานเป็นทีมได้(สมศักดิ์, 2543)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) ..2545หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 กำหนดไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมี

ความ สามารถในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ” (กระทรวงศึกษาธิการ,2545) และตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กำหนดหลักการ ข้อ 3 ซึ่งกำหนดไว้ว่าส่ง เสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดย ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545) จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 นี้ เองทำให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้น และการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญก็เป็นประเด็นสำคัญ ประเด็นหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (วิภาภรณ์, 2543)

การ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความ สำคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนา ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิดการ จัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ ต่าง ๆ ที่ได้พัฒนามาอย่าง ต่อเนื่องยาวนาน และเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตาม ต้องการอย่างได้ผล (วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2542)

หลักการพื้นฐานของแนวคิด "ผู้เรียนเป็นสำคัญ" (ไพฑูรย์, 2549)

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้ผู้เรียนมี

ความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งแนวคิดแบบผู้เรียนเป็นสำคัญจะยึด

การ ศึกษาแบบก้าวหน้าของผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนแต่ละคนมีคุณค่าสมควรได้รับการเชื่อถือไว้วางใจแนวทางนี้จึงเป็นแนว ทางที่จะ ผลักดันผู้เรียนไปสู่การบรรลุศักยภาพของตน โดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความสะดวกให้เขาได้พัฒนาศักยภาพของตน เองอย่างเต็มที่การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการ จัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบดั้งเดิมทั่วไป คือ

1. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ บทบาทของครูคือ

ผู้สนับสนุน (supporter) และเป็นแหล่งความรู้(resource person) ของ ผู้เรียน ผู้เรียนจะรับผิดชอบตั้งแต่เลือกและวางแผนสิ่งที่ตนจะเรียน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมใน การเลือกและจะเริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการศึกษาค้นคว้า รับผิดชอบการเรียนตลอดจนประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง

2. เนื้อหา วิชามีความสำคัญและมีความหมายต่อการเรียนรู้ ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ปัจจัยสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วย ได้แก่ เนื้อหาวิชา ประสบการณ์เดิม และความต้องการของผู้เรียน การเรียนรู้ที่สำคัญและมีความหมายจึงขึ้นอยู่กับสิ่งที่สอน (เนื้อหา) และวิธีที่ใช้สอน(เทคนิคการสอน)

3. การ เรียนรู้จะประสบผลสำเร็จหากผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนการสอน ผู้เรียนจะได้รับความสนุกสนานจากการเรียน หากได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ทำงานร่วมกันกับเพื่อนๆได้ค้นพบข้อ คำถามและคำตอบใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ประเด็นที่ท้าทายและความสามารถในเรื่องใหม่ๆที่เกิดขึ้น รวมทั้งการบรรลุผลสำเร็จของงานที่พวกเขาริเริ่มด้วยตนเอง

4. สัมพันธ ภาพประกอบดีระหว่างผู้เรียน การมีสัมพันธภาพประกอบดีในกลุ่มจะช่วยส่งเสริมความเจริญงอกงาม การพัฒนาความเป็นผู้ใหญ่ การปรับปรุงการทำงาน และการจัดการกับชีวิตของแต่ละบุคคล สัมพันธภาพประกอบเท่าเทียมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสิรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของ ผู้เรียน

5. ครู คือผู้อำนวยความสะดวกและเป็นแหล่งความรู้ในการจัดการ เรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูจะต้องมีความสามารถที่จะค้นพบความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน เป็นแหล่งความรู้ที่ทรงคุณค่าของผู้เรียนและสามารถค้นคว้าหาสื่อวัสดุ อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับผู้เรียน สิ่งที่สำคัญที่สุด คือความเต็มใจของครูที่จะช่วยเหลือโดยไม่มีเงื่อนไข ครูจะให้ทุกอย่างแก่ผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นความเชี่ยวชาญ ความรู้ เจตคติ และการฝึกฝน โดยผู้เรียนมีอิสระที่จะรับหรือไม่รับการให้นั้นก็ได้

6. ผู้ เรียนมีโอกาสเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างออกไป ผู้เรียนจะมีความมั่นใจในตนเองและควบคุมตนเองได้มากขึ้น สามารถเป็นในสิ่งที่อยากเป็น มีวุฒิภาวะสูงมากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ต่างๆ มากขึ้น

7. การศึกษาคือการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆ ด้านพร้อมกันไป

การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นจุดเริ่มของการพัฒนาผู้เรียนหลายๆ ด้าน เช่น คุณลักษณะด้าน

ความรู้ความคิด ด้านการปฏิบัติและด้านอารมณ์ความรู้สึกจะได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน

เมื่อรู้ว่าการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีดีและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้

ดัง นั้น พวกเราครูมืออาชีพก็ควรศึกษาและปฏิบัติให้ถูกต้อง ผลที่ได้คือ ผลิตผลที่ดีนักเรียนมีความรู้ ดี เก่งและมีสุข ตามเจตนารมย์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (สิริพร, 2549)

ปัญหาหลักของกระบวนการเรียนการสอนในปัจจุบัน คือ การที่ครูใช้วิธีการสอนแบบ

ปูพรมโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน ที่มีความสามารถในการรับรู้ที่แตกต่างกัน

(สุมณฑา, 2544 : 27) การเรียนการสอนไม่ได้เอื้อต่อการพัฒนาคุณลักษณะมองกว้าง คิดไกล ใฝ่ดี

แต่ เน้นการท่องจำเพื่อสอบมากกว่าที่จะสอนให้ คิดเป็น วิเคราะห์ได้สามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนมีลักษณะผู้เรียนรู้ ไม่เป็น ปัญหาเหล่านี้นับว่าเป็นความล้มเหลวของการจัดการศึกษาที่ต้องแก้ไขโดยเร่ง ด่วน (จิราภรณ์, 2541)

ความหมาย

การ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่างๆอย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิก ที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน จึงต้องใช้เทคนิควิธีสอนวิธีการเรียนรู้

รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายวิธีซึ่งจำแนกได้ดังนี้(คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้, 2543)

1. การ จัดการเรียนการสอนทางอ้อม ได้แก่ การเรียนรู้แบบสืบค้น แบบค้นพบ แบบแก้ปัญหาแบบ สร้างแผนผังความคิดแบบใช้กรณีศึกษา แบบตั้งคำถามแบบใช้การตัดสินใจ

2. เทคนิคการศึกษาเป็นรายบุคคล ได้แก่ วิธีการเรียนแบบศูนย์การเรียน แบบการเรียนรู้

ด้วยตนเอง แบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

3. เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ประกอบการเรียน เช่น การใช้สิ่งพิมพ์

ตำราเรียน และแบบฝึกหัดการใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน ศูนย์การเรียนชุดการสอน คอมพิวเตอร์

ช่วยสอน บทเรียนสำเร็จรูป

4. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นปฏิสัมพันธ์ประกอบด้วย การโต้วาทีกลุ่ม Buzz

การอภิปราย การระดมพลังสมอง กลุ่มแก้ปัญหา กลุ่มติว การประชุมต่างๆ การแสดงบทบาทสมมติ

กลุ่มสืบค้นคู่คิดการฝึกปฏิบัติ เป็นต้น

5. เทคนิค การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์เช่น การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกม กรณีตัวอย่างสถานการณ์จำลองละคร กรณีตัวอย่างสถานการณ์จำลอง ละคร บทบาท สมมติ

6. เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ ได้แก่ ปริศนาความคิดร่วมมือแข่งขันหรือกลุ่มสืบค้น

กลุ่มเรียนรู้ ร่วมกัน ร่วมกันคิด กลุ่มร่วมมือ

7. เทคนิคการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ได้แก่ การเรียนการสอนแบบใช้เว้นเล่าเรื่อง

(Story line) และการเรียนการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving)

เทคนิค วิธีการเหล่านี้ล้วนเป็นวิธีที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้คิดค้นคว้าศึกษาทดลอง ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้สอนจึงมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในหลายๆ ลักษณะ ดังนี้(ชาติแจ่มนุช และคณะ, มทป)

1. เป็นผู้จัดการ (Manager) เป็น ผู้กำหนดบทบาทให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนเข้าร่วมทำกิจกรรมแบ่งกลุ่ม หรือจับคู่ เป็นผู้มอบหมายงานหน้าที่ความรับผิดชอบแก่ นักเรียนทุกคน จัดการให้ทุกคนได้ทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของตน

2. เป็นผู้ร่วมทำกิจกรรม (An active participant) เข้าร่วมทำกิจกรรมในกลุ่มจริงๆ พร้อมทั้ง

ให้ความคิดและความเห็นหรือเชื่อมโยงประสบการณ์ส่วนตัวของนักเรียนขณะทำกิจกรรม

3. เป็นผู้ช่วยเหลือและแหล่งวิทยาการ (Helper and resource) คอยให้คำตอบเมื่อนักเรียน

ต้องการความช่วยเหลือทางวิชาการ ตัวอย่าง เช่น คำศัพท์หรือไวยากรณ์การให้ข้อมูลหรือความรู้

ในขณะที่นักเรียนต้องการ ซึ่งจะช่วยทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

4. เป็นผู้สนับสนุนและเสริมแรง (Supporter and encourager) ช่วยสนับสนุนด้านสื่ออุปกรณ์หรือให้คำแนะนำที่ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมหรือฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง

5. เป็นผู้ติดตามตรวจสอบ (Monitor) คอย ตรวจสอบงานที่นักเรียนผลิตขึ้นมาก่นที่จะส่งต่อไปให้นักเรียนผลิตขึ้นมาก่อน ที่จะส่งต่อไปให้นักเรียนคนอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความถูกต้องของคำศัพท์ ไวยากรณ์ การแก้คำผิด อาจจะทำได้ทั้งก่อนทำกิจกรรม หรือบางกิจกรรมอาจจะแก้ในภายหลังได้

ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูสมัยใหม่กับครูสมัยเก่าก็จะเห็นความแตกต่าง ดังนี้

ครูสมัยใหม่

ครูสมัยเก่า

1. สอนนักเรียนโดยวิธีบูรณาการเนื้อหาวิชา

1. สอนแยกเนื้อหาวิชา

2. แสดงบทบาทในฐานะผู้แนะนำ(Guide)ประสบการณ์ทางการศึกษา

2. มีบทบาทในฐานะตัวแทนของเนื้อหาวิชา(Knowledge)

3. กระตือรือร้นในบทบาท ความรู้สึกของ นักเรียน

3. ละเลยเฉยเมยต่อบทบาทของนักเรียน

4. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนของหลักสูตร

4. นักเรียนไม่มีส่วนร่วมแม้แต่จะพูดเกี่ยว กับหลักสูตร

5. ใช้เทคนิคการค้นพบด้วนตนเองของ นักเรียนเป็นกิจกรรมหลัก

5. ใช้เทคนิคการเรียน โดยการท่องจำเป็น หลัก

6. มีการเสริมแรงหรือให้รางวัลมากกว่าการลงโทษมีการใช้แรงจูงใจภายใน

6. มุ่งเน้นการให้รางวัลภายนอก เช่น เกรดแรงจูงใจภายนอก

7. ไม่เคร่งครัดกับมาตรฐานทางวิชาการจนเกินไป

7. เคร่งครัดกับมาตรฐานทางวิชาการมาก

8. มีการทดสอบเล็กน้อย

8. มีการทดสอบสม่ำเสมอเป็นระยะ ๆ

9. มุ่งเน้นการทำงานเป็นกลุ่มแบบร่วมใจ

9. มุ่งเน้นการแข่งขัน

10. สอนโดยไม่ยึดติดกับห้องเรียน

10. สอนในขอบเขตของห้องเรียน

11. มุ่งสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ให้นักเรียน

11. เน้นย้ำประสบการณ์ใหม่เพียงเล็กน้อย

12. มุ่งเน้นความรู้ทางวิชาการและทักษะด้าน จิตพิสัยเท่าเทียมกัน

12. มุ่งเน้นความรู้ทางวิชาการเป็นสำคัญ ละเลย



องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1 การบริหารจัดการ การบริหารจัดการนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญ โดยเฉพาะการบริหารจัดการของโรงเรียนที่เน้นการพัฒนาทั้งระบบของโรงเรียน

การพัฒนาทั้งระบบของโรงเรียน หมายถึง การดำเนินงานในทุกองค์ประกอบของโรงเรียนให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ คุณภาพของนักเรียนตามวิสัยทัศน์ที่โรงเรียนกำหนด ดังนั้นตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงการพัฒนาทั้งระบบของโรงเรียนประกอบด้วย

1. การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาที่มีจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพนักเรียนอย่างชัดเจน

2. การกำหนดแผนยุทธศาสตร์สอดคล้องกับเป้าหมาย

3. การกำหนดแผนการดำเนินงานในทุกองค์ประกอบของโรงเรียนสอดคล้องกับเป้าหมายและเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์

4. การจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายใน

5. การจัดทำรายงานประจำปีเพื่อรายงานผู้เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับแนวทางการประกันคุณภาพจากภายนอก

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของโรงเรียนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 เน้นถึงการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน ดังนั้น ในการดำเนินการของโรงเรียนจึงเปิดโอกาส ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ ร่วมในการกำหนดเป้าหมายและการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ร่วมในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ร่วมในการประเมินผล เป็นต้น

2 การจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบด้านการจัดการเรียนรู้นับว่าเป็นองค์ประกอบหลักที่แสดงถึงการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการเรียนรู้ บทบาทของครู และบทบาทของผู้เรียน

การจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นสำคัญจะทำได้สำเร็จเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ครู และผู้เรียน มีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับความหมายของการเรียนรู้ ดังสาระที่ ทิศนา แขมมณี (2544) ได้กล่าวไว้ดังนี้

1. การเรียนรู้เป็นงานเฉพาะบุคคล ทำแทนกันไม่ได้ ครูที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง

2. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาที่ต้องมีการใช้กระบวนการคิด สร้างความเข้าใจ ความหมายของสิ่งต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ

3. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคม เพราะในเรื่องเดียวกัน อาจคิดได้หลายแง่ หลายมุมทำให้เกิดการขยาย เติมเต็มข้อความรู้ ตรวจสอบความถูกต้องของการเรียนรู้ตามที่สังคมยอมรับด้วย ดังนั้นครูที่ปรารถนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นหรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ

4. การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน เป็นความรู้สึกเบิกบาน เพราะหลุดพ้นจากความไม่รู้ นำไปสู่ความใฝ่รู้ อยากรู้อีก เพราะเป็นเรื่องน่าสนุก ครูจึงควรสร้างภาวะที่กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้หรือคับข้องใจบ้าง ผู้เรียนจะหาคำตอบเพื่อให้หลุดพ้นจากความข้องใจ และเกิดความสุขขึ้นจากการได้เรียนรู้ เมื่อพบคำตอบด้วยตนเอง

5. การ เรียนรู้เป็นงานต่อเนื่องตลอดชีวิต ขยายพรมแดนความรู้ได้ไม่มีที่สิ้นสุด ครูจึงควรสร้างกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้ไม่รู้จบ

6. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลง เพราะได้รู้มากขึ้นทำให้เกิดการนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ เป็นการพัฒนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับรู้ผลการพัฒนาของตัวเขาเองด้วย

จากความหมายของการเรียนรู้ที่กล่าวมา ครูจึงต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้

(1) ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน

(2) การเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก

(3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน

(4) การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย

(5) ความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน

(6) การท้าทายให้ผู้เรียนอยากรู้

(7) การตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้

(8) การสร้างบรรยากาศหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง

(9) การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้

(10) การมีจุดมุ่งหมายของการสอน

(11) ความเข้าใจผู้เรียน

(12) ภูมิหลังของผู้เรียน

(13) การไม่ยึดวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น

(14) การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (dynamic) กล่าวคือ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในด้านการจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศ รูปแบบเนื้อหาสาระ เทคนิค วิธีการ

(15) การสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป

(16) การวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

3 การเรียนรู้ของผู้เรียน องค์ประกอบสุดท้ายที่สำคัญและนับว่าเป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ องค์ประกอบด้านการเรียนรู้ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากเดิมที่เน้นเนื้อหาสาระเป็นสำคัญ และสอดคล้องกับองค์ประกอบด้านการจัดการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะการจัดการเรียนรู้ก็เพื่อเน้นให้มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ตัวบ่งชี้ที่บอกถึงลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียน ประกอบด้วย

1. การเรียนรู้อย่างมีความสุข อันเนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล คำนึงถึงการทำงานของสมองที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการทางอารมณ์ของผู้เรียน ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องที่ต้องการเรียนรู้ในบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ บรรยากาศของการเอื้ออาทรและเป็นมิตร ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย นำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้

2. การเรียนรู้จากการได้คิดและลงมือปฏิบัติจริง หรือกล่าวอีกลักษณะหนึ่งคือเรียนด้วยสมองและสองมือเป็นผลจากการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้คิด ไม่ว่าจะเกิดจากสถานการณ์หรือคำถามก็ตาม และได้ลงมือปฏิบัติจริงซึ่งเป็นการฝึกทักษะที่สำคัญคือ การแก้ปัญหา ความมีเหตุผล

3. การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น เป้าหมายสำคัญด้านหนึ่งในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคือ ผู้เรียนแสวงหาความรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกโรงเรียน ทั้งที่เป็นเอกสาร วัสดุ สถานที่ สถานประกอบการ บุคคลซึ่งประกอบด้วย เพื่อน กลุ่มเพื่อน วิทยากร หรือผู้เป็นภูมิปัญญาของชุมชน

4. การเรียนรู้แบบองค์รวมหรือบูรณาการ เป็นการเรียนรู้ที่ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ ได้สัดส่วนกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ความดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชาที่จัดให้เรียนรู้

5. การ เรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง เป็นผลสืบเนื่องมาจากความเข้าใจของผู้จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญว่า ทุกคนเรียนรู้ได้และเป้าหมายที่สำคัญคือ พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถที่จะแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้จัดการเรียนรู้จึงควรสังเกตและศึกษาธรรมชาติของการเรียนรู้ของผู้เรียน ว่าถนัดที่จะเรียนรู้แบบใดมากที่สุด ในขณะเดียวกันกิจกรรมการเรียนรู้จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้วางแผนการเรียน รู้ด้วยตนเอง (ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดอีกครั้งในการเรียนรู้โดยโครงงาน) การสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง ผู้เรียนจะได้รับการฝึกด้านการจัดการแล้วยังฝึกด้านสมาธิ ความมีวินัยในตนเอง และการรู้จักตนเองมากขึ้น

เมื่อครูจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลแล้ว และมีความประสงค์จะตรวจสอบว่าได้ดำเนินการถูกต้องตามหลักการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือไม่ ครูสามารถตรวจสอบด้วยตนเอง โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานด้านกระบวนการ มาตรฐานที่ 18 ซึ่งมีตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้

1. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติและสนองความต้องการของผู้เรียน

2. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ

3. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาหาความรู้ แสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

4. มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีและสื่อที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน

5. มีการจัดกิจกรรมเพื่อฝึกและส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เรียน

6. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสุนทรียภาพอย่างครบถ้วน ทั้งด้านดนตรี ศิลปะและกีฬา

7. ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย การทำงานร่วมกับผู้อื่นและความรับผิดชอบต่อกลุ่มร่วมกัน

8. มีการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลายและต่อเนื่อง

9. มีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนรักสถานศึกษาของตนและมีความกระตือรือร้นในการไปเรียน

สรุปว่า การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ การจัดการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ เกิดความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ไปบูรณาการใช้ในชีวิตประจำวัน และมีคุณสมบัติตามกับเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่ต้องการให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข

เทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning)

1) แนวคิดทฤษฎีที่ใช้

สเปนเซอร์ เคแกน (Spenser Kagan, 1994) นักการศึกษาชาวสหรัฐ ได้ทำการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี ค.. 1985 และ ได้เผยแพร่ผลงานอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกา รวมถึงหลายประเทศในเอเซีย แนวคิดหลักที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 6 ประการ ดังนี้

1) Teams หมายถึง การจัดกลุ่มของผู้เรียนที่จะทำงานร่วมกัน กลุ่มที่จะเรียนรู้ด้วยกันอย่างมีประสิทธิผล ควรเป็นดังนี้

1.1) กลุ่มละ 4 คน ประกอบด้วยเด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนสูง ปานกลาง ค่อนข้างต่ำ และหญิงชายเท่า ๆ กันในบางกรณีการจัดกลุ่มโดยวิธีอื่น เช่น ในการศึกษาเรื่องลึกเฉพาะ เช่น ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ควรจัดกลุ่มเด็กที่มีความสนใจเหมือนกัน หรือจัดกลุ่มโดยวิธีสุ่ม เมื่อต้องการทบทวนความรู้

1.2) จัดให้เด็กอยู่ในกลุ่มเดียวกันประมาณ 6 สัปดาห์แล้วเปลี่ยนจัดกลุ่มใหม่

2) Will หมาย ถึง ความมุ่งมั่นและอุดมการณ์ของเด็กที่จะร่วมงานกัน เด็กจะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้และมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม ต่าง ๆ ร่วมกัน สิ่งเหล่านี้ต้องสร้างให้เกิดขึ้นและให้คงไว้โดยให้ทำกิจกรรมหลากหลาย โดยวิธีการต่อไปนี้

2.1) Team building การสร้างความมุ่งมั่นของทีมที่จะทำงานร่วมกัน

2.2) Class building การสร้างความมุ่งมั่นของชั้นเรียนที่จะช่วยกัน

3) Management หมาย ถึง การจัดการเพื่อให้กลุ่มทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการจัดการของผู้สอนและการจัดการของผู้เรียนภายในกลุ่ม ผู้สอนจะต้องมีการจัดการที่ดี เพื่อให้การทำงานกลุ่มประสบผลสำเร็จ เช่น การควบคุมเวลา การกำหนดสัญญาณให้ผู้เรียนหยุดกิจกรรม ฯลฯ

4) Social Skills เป็นทักษะในการทำงานร่วมกัน มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ให้ความช่วยเหลือกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน

5) Four Basic Principles (PIES) เป็นหลักการพื้นฐานของ Cooperative Learning ซึ่งจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ได้แก่

P = Positive Interdependence ผู้ เรียนต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีแนวคิดที่ว่าเมื่อเราได้รับประโยชน์จากเพื่อน เพื่อนก็จะได้รับประโยชน์จากเรา ความสำเร็จของกลุ่มคือความสำเร็จของแต่ละคน

I = Individual Accountability ยอมรับว่าแต่ละคนในกลุ่มต่าง ๆ มีความสามารถและมีความสำคัญต่อกลุ่ม แต่ละคนมีส่วนให้การทำงานในกลุ่มสำเร็จ

E = Equal Participation ทุกคนในกลุ่มต้องให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในงานของกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน

S = Simultaneous Interaction ทุกคนในกลุ่มต้องมีปฏิสัมพันธ์กันตลอดเวลาที่ทำงานในกลุ่ม

6) Structures หมายถึง รูปแบบของกิจกรรมในการทำงานกลุ่ม ซึ่งมีหลากหลายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาหรือสถานการณ์ที่จะศึกษา Kagan ได้วิจัยและเสนอไว้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น

Time – Pair – Share เป็นกิจกรรมจับคู่สลับกันพูดในหัวข้อและในเวลาที่กำหนด เช่น คนละ 1 นาที เมื่อคนหนึ่งพูด อีกคนหนึ่งฟัง แล้วสลับกัน

Round Robin ผู้เรียนในกลุ่มทั้ง 4 คน ผลัดกันพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนครบทุกคน

Round Table ผู้ เรียนแต่ละคนในกลุ่มเขียนแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในกระดาษแผ่น เดียวกันแล้ววนไปเรื่อย ๆ จนผู้เรียนทุกคนเขียนทั้งหมด แล้วนำมาสรุป

Team – Pair – Solo เป็น กิจกรรมที่ให้แต่ละคนในกลุ่มคิดแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งก่อน จากนั้นเปลี่ยนเป็นรวมกันคิดเป็นคู่ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนแต่ละคนเรียนรู้แบบการแก้ปัญหา ในที่สุดแต่ละคนสามารถแก้ปัญหาทำนองเดียวกันได้

นอกจากรูปแบบกิจกรรมของ Kagan แล้วก็ยังมีรูปแบบกิจกรรมของคนอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีก เช่น

เทคนิคจิกซอ (Jigsaw) เป็น เทคนิคที่ใช้กับบทเรียนที่หัวข้อที่เรียน แบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ เช่น ประเภทของมลพิษ สามารถแบ่งเป็น มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง มลพิษทางน้ำ มลพิษของดิน เป็นต้น ควรเรียนแบ่งเป็นขั้นตอน ดังนี้

1) ผู้สอนแบ่งหัวข้อที่จะเรียนเป็นหัวข้อย่อย ๆ ให้เท่ากับจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม

2) จัดกลุ่มผู้เรียน โดยให้มีความสามารถคละกันภายในกลุ่ม เป็นกลุ่มบ้าน (home group) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มอ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ตนได้รับมอบหมายเท่านั้น โดยใช้เวลาตามที่ผู้สอนกำหนด

3) จากนั้นผู้เรียนที่อ่านหัวข้อย่อยเดียวกันมานั่งด้วยกัน เพื่อทำงาน ซักถาม และทำกิจกรรม ซึ่งเรียกว่ากลุ่มเชี่ยวชาญ (expert group) สมาชิกทุก ๆ คนร่วมมือกันอภิปรายหรือทำงานอย่างเท่าเทียมกันโดยใช้เวลาตามที่ผู้สอนกำหนด

4) ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลับมายังกลุ่มบ้าน (home group) ของตน จากนั้นผลัดเปลี่ยนกันอธิบายให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟัง เริ่มจากหัวข้อย่อย 1,2,3 และ 4 เป็นต้น

5) ทำการทดสอบหัวข้อย่อย 1-4 กับผู้เรียนทั้งห้อง คะแนนของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มรวมเป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รับการติดประกาศ

โมเดลซิปปา (CIPPA MODEL)
CIPPA MODEL
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (Cippa Model) หรือ รูปแบบการประสานห้าแนวคิด ได้พัฒนาขึ้นโดย ทิศนา แขมมณี รองศาสตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้พัฒนารูปแบบจากประสบการณ์ในการสอนมากว่า 30 ปี และพบว่าแนวคิดจำนวนหนึ่งสามารถใช้ได้ผลดีตลอดมา จึงได้นำแนวคิดเหล่านั้นมาประสานกันเกิดเป็นแบบแผนขึ้น แนวคิดดังกล่าวได้แก่ แนวคิดการสร้างความรู้ แนวคิดกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้ แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และแนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนความรู้ เมื่อนำแนวคิดดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนพบว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ครบ ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญาและสังคม โดยหลักการของโมเดลซิปปา ได้ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในตัวหลักการคือการช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและได้เรียนรู้จากกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ ร่วมกับการผลิตผลงานซึ่งมีความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายและสามารถนำความรู้ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้นักเรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองตามแนวคิด Constructivism (ทิศนา แขมมณี, 2542 )
ความหมายของ CIPPA

C มาจากคำว่า Construct หมายถึง การสร้างความรู้ตามแนวคิดของ Constructiviism กล่าว คือ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง ทำความเข้าใจ เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายแก่ตนเอง และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา
I มาจากคำว่า Interaction หมาย ถึง การช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับ บุคคล และแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ได้รู้จักกันและกัน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ความคิดประสบการณ์ แก่กันและกันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนทางสังคม
P มาจากคำว่า Physical Participation หมาย ถึง การช่วยให้ผู้เรียนมีบทบาท มีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย ให้ผู้เรียนมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย โดยการทำกิจกรรมในลักษณะต่างๆ ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย
P มาจากคำว่า Process Learning หมาย ถึง การเรียนรู้ กระบวนการ ต่างๆ ของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

A มาจากคำว่า Application การ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน เป็นการช่วยผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งในสังคม และชีวิตประจำวัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆจากแนวคิดในการ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของทิศนา แขมมณี (2542) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หลักของโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) ซึ่งได้รูปแบบการเรียนการสอนซึ่งสามารถประยุกต์ใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีขั้นตอนสำคัญดังนี้

1.ขั้น ทบทวนความรู้เดิม ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้ของผู้เรียนในเรื่องที่เรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียน มีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน
2. ขั้น แสวงหาความรู้ใหม่ ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูล ความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่มีจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆ ซี่งครูอาจเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้
3. ขั้นการ ศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนเผชิญปัญหา และทำความเข้าใจกับข้อมูล ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ ด้วยตนเอง เช่นใช้กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปผลความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงความรู้เดิม มีการตรวจสอบความเข้าใจต่อตนเองหรือกลุ่ม โดยครูใช้สื่อและย้ำมโนมติในการเรียนรู้
4. ขั้น การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือ ในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตนเอง รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนเองแก่ผู้อื่นและได้ รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมๆกัน
5. ขั้น การสรุปและจัดระเบียบความรู้ ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อช่วยให้จดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
6. ขั้น การแสดงผลงาน ขั้นนี้เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้แสดงผลงานการสร้างความรู้ ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนตอกย้ำ หรือตรวจสอบ เพื่อช่วยให้จดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
7. ขั้น ประยุกต์ใช้ความรู้ ขั้นนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ ความเข้าใจของตนเองไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้น ๆ



รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบโฟร์แมทซิสเต็ม (4 MAT’S Learning)

แนวคิดทฤษฎีที่ใช้

แมคคาร์ธี (Mc Carthy) ได้พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT นี้ โดยได้รับอิทธิพลแนวคิดจากทฤษฎีการเรียนรู้ของคอล์ม (Kolb) ที่เสนอแนวความคิดเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้เกิดจากความสัมพันธ์ 2 มิติ คือ การรับรู้ (perception) และกระบวนการจัดการข้อมูล (processing) การรับรู้ของบุคคลอาจเป็นประสบการณ์ตรง อาจเป็นความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ที่เป็นนามธรรม

ส่วน กระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลคือการลงมือปฏิบัติ ในขณะที่บางคนเรียนรู้โดยผ่านการสังเกต และนำข้อมูลนั้นมาคิดอย่างไตร่ตรอง แมคคาร์ธีแบ่งผู้เรียนออกเป็น 4 แบบ คือ 1) ผู้เรียนที่ถนัดการเรียนรู้โดยจินตนาการ (Imaginative Learners) 2) ผู้เรียนที่ถนัดการรับรู้มโนทัศน์ที่เป็นนามธรรม นำกระบวนการสังเกตอย่างไตร่ตรอง หรือเรียกว่าผู้เรียนที่ถนัดการวิเคราะห์ (Analytic Learners) 3) ผู้เรียนที่ถนัดการรับรู้มโนทัศน์แล้วผ่านกระบวนการลงมือทำหรือที่เรียกว่าผู้เรียนที่ถนัดการใช้สามัญสำนึก (Commonsense Learners) และ 4) ผู้เรียนที่ถนัดการรับรู้จากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมและนำสู่ ลักษณะการพัฒนารูปแบบ

แมคคาร์ธี และคณะ (ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ พุ่มมั่น, 2542) ได้นำแนวคิดของคอล์ม มาประกอบกับแนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก ทำให้เกิดเป็นแนวคิดทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คำถามหลัก 4 คำถาม กับผู้เรียน 4 แบบ คือ

- ผู้เรียนแบบที่ 1 (Imaginative Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความถนัดในการรับรู้จากประสบการณ์รูปธรรม ผ่านกระบวนการจัดข้อมูลด้วยการสังเกตอย่างไตร่ตรอง เขาจะเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิมของตนเองได้อย่างดี การเรียนแบบร่วมมือ การอภิปรายและการทำงานกลุ่มจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มนี้ คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนกลุ่มนี้คือ ทำไม” (Why ?)

- ผู้เรียนแบบที่ 2 (Analytic Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะสามารถเรียนรู้ความคิดรวบยอดที่ เป็นนามธรรมได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับความรู้ที่เป็นทฤษฎี รูปแบบ และความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ การอ่าน การค้นคว้าข้อมูลจากตำราหรือเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งการเรียนรู้แบบบรรยาย จะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนเหล่านี้ คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ อะไร” (What ?)

- ผู้เรียนแบบที่ 3 (Commonsense Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความสามารถ/มี ความถนัดในการรับรู้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรมแล้วนำสู่การลงมือปฏิบัติ เขาให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้ความรู้ ความก้าวหน้า และการทดลองปฏิบัติ กิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติและกิจกรรมการแก้ปัญหาจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ของผู้เรียนในกลุ่มนี้ คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ อย่างไร” (How ?)

- ผู้เรียนแบบที่ 4 (Dynamic Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความถนัดในการเรียนรู้ ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมแล้วนำสู่การลงปฏิบัติ เขาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่เป็นการสำรวจ ค้นคว้า การค้นพบด้วยตนเอง แล้วเชื่อมโยงความรู้เหล่านั้นไปสู่การทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ ถ้า” (If ?)

จากลักษณะของผู้เรียนทั้ง 4 แบบดังกล่าวข้างต้น Morris และ Mc Cathy ได้ นำมาเป็นแนวคิดพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ โฟร์แม็ทซิสเต็ม โดยจัดขั้นตอนการสอนให้ผู้เรียนสามารถใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาอย่างเต็ม ที่เป็นการพัฒนาพหุปัญหาทั้ง 8 ด้าน

การสอนโดยให้ฝึกเละปฏิบัติ ( Drill and practice)

ความหมาย

Drill คือการการทำซ้ำหรือแบบฝึกหัดเพื่อพัฒนาทักษะ skill

Practice คือ การปฏิบัติจริงที่ได้เรียนมา ซึ่งการปฏิบัติย่อยๆก็จะเป็นการปฏิบัติซ้ำๆ

จุดมุ่งหมาย

1.เพื่อให้เห็นความสำคัญของการปฏิบัติงาน

2.เพื่อให้ลงมือกระทำจริง

3.เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

บทบาทของครู

1. วิเคราะห์สิ่งที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเกิดทักษะในสิ่งนั้นว่าจะต้องฝึกทักษะส่วนไหนบ้างและต่อเนื่องกันอย่างไร

2. ทำการวัดพฤติกรรมก่อนการเรียนทักษะนั้นๆว่าผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานเพียงพอหรือยัง

3. จักขั้นตอนการฝึกทักษะให้เป็นไปตามลำดับขั้นจากง่ายไปหายากหรือพื้นฐานไปสู้สลับซับซ้อน

4. อธิบายและสาธิตการปฏิบัติงานในการฝึกทักษะต่างๆให้ผู้เรียนได้ดู

5. ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง โดยฝึกหัดอย่างต่อเนื่องพร้อมๆกับให้รู้ผลสำเร็จของการฝึกหัดด้วย

6. พยายามกระตุ้นและส่งเสริมให้กำลังใจในการฝึกปฏิบัติของผู้เรียนให้มากๆ

7. พยายามใช้กระบวนการกลุ่มของผู้เรียนให้มากๆ

8. จัดทำใบความรู้-ใบงานในเรื่องที่นักเรียนจะต้องฝึกและปฏิบัติ

9. จัดทำเครื่องมือวัดและประเมินผลการฝึกและการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนในการสอน

1. ขั้นนำให้เกิดความเข้าใจและแรงจูงใจ เป็น การให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนทางด้านทักษะนั้นๆ ครูเสนอแนะสิ่งที่จะต้องฝึกและปฏิบัติ อธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจในวิธีการฝึกและปฏิบัติจากใบความรู้

2. ขั้นฝึกและปฏิบัติ เป็นขั้นของการฝึกหัดเพื่อให้เกิดทักษะ หรือเพื่อลดความผิดพลาดในกรทำงานให้น้อยลง จนกระทั้งหมดไปในที่สุด โดยฝึกและปฏิบัติจากใบความรู้ใบงาน

3.ขั้นนำไปใช้ เป็นขั้นของการเกิดทักษะ ซึ่งสามารถทำสิ่งนั้นๆได้อย่างอัตโนมัติจากการฝึกและปฏิบัติมาแล้ว

4. ขั้นประเมินผล เป็นขั้นตอนที่ต้องการทราบความก้าวหน้าของการฝึกและปฏิบัติ

ใบงานหรือทักษะนั้น ๆ ตลอดจนความรู้ทางวิชาการ เจตคติและคุณลักษณะส่วนตัวของผู้เรียน

ข้อดี

1. ผู้เรียนเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียน

2. การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการทำจริงและประสบการณ์ตรง

3. เรียนรู้และจดจำสิ่งที่เรียนได้ดี

4. สามารถถ่ายทอดการเรียนรู้ไปใช้สถานการณ์เช่นเดียวกันได้ดี

5 ดีมากสำหรับการพัฒนาด้านทักษะ

6. ผู้เรียนมีจุดม่งหมายที่แน่นอน

7. การทำกิจกรรมการเรียนโดยการฝึกและปฏิบัติอาจดำเนินโดยผู้เรียนเป็นรายบุคคล

หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ก็ได้

8. ผู้สอนมีเวลาที่จะให้ความช่วยเหลือและการสอนแก่ผู้เรียนทึต้องการความช่วยเหลือ

ผู้เรียนอาจศึกษากิจกรรม วิธีปฏิบัติจากสื่อที่สามารถเรียนด้วยตนเองได้

ข้อจำกัด

1 ใช้เวลามาก

2. นำไปสู่ความน่าเบื่อ นอกจากจะมีแรงจูงใจสูงและมีจุดหมายที่แน่นอน

3. ไม่ช่วยเหลือให้นักเรียนเข้าใจจุดม่งหมายใหม่ ๆ

4. ผู้เขียนบางคนเรียนเพียง Drill แต่ไม่เรียนรู้ถึงคุณค่า

5. การทำซ้ำๆอย่างไม่มีความหมาย อาจเป็นอุปสรรคที่จะทำให้เกิดความเข้าใจ

6. กรณีที่ให้ปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม ๆ สมาชิกบางคนอาจหลีกเลี่ยงการปฏิบัติงาน

แนวคิดของการสอนแบบพัฒนาความสามารถเฉพาะ

การสอนแบบ TU เป็นรูปแบบการสอนที่มุ่งเน้นพัฒนาความสามารถเฉพาะของผู้เรียน

แต่ละคน ซึ่งมีความสามารถที่แตกต่างกันเฉพาะบุคคล เป็นวิธีสอนที่ช่วยดึงความสามารถ

เฉพาะของบุคคลนั้น ๆ ออกมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน มุ่งให้ผู้เรียนประสบ

ความสำเร็จในทักษะที่ตนเองมีความถนัดและมีความสามารถในด้านนั้น ๆ การสอนแบบ TU

ม่งพัฒนาทักษะ 5 ประการ คือ

1. การคิดอย่างมีผล (porductive Thinking) ทักษะการคิดเพื่อให้ได้ผลออกมานั้น

เป็นการฝึกให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่หลากหลาย ใช้ความสามารถในการคิดอย่างเต็มที่ โดยไม่มี

ขีดจำกัด เช่น คิดหาคำนามให้มากที่สุด คิดหาสิ่งแปลกหรือผิดปกติตามแนวคิดของตนเอง

คิดหาวิธีแก้ปัญหา

2. การสื่อสาร (communication) ทักษะการสื่อสารนี้ต้องการให้ผู้เรียนใช้ทักษะ

การฟัง การพูดแสดงความรู้สึก กิริยาท่าทาง เพื่อสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจได้ นอก

เหนือจากสื่ออื่น ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ มุ่งให้ผู้เรียนสามารถอธิบายหรือแสดง

ความรู้จักเปรียบเทียบ บ่งบอกค่านิยมที่บุคคลต่าง ๆ มีตามลักษณะบุคลิกเฉพาะบุคคลคนนั้น

3. การเดาเหตุการณ์หรือการพยากรณ์ (Forcasting) เป็นกระบวนการที่มุ่งพัฒนา

ผู้เรียนในการศึกษาสาเหตุและผลที่ควรจะเกิดขึ้น ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดหลากหลาย และ

ฝึกการใช้เหตุผลตามสถานการณ์ที่กำหนดให้

4. การวางแผน (planning) เป็นการพัฒนาผู้เรียน ให้ผู้เรียนพิจารณาถึงรายละเอียด

ความจำเป็นต่าง ๆ ในการจัดทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบผลสำเร็จ ฝึกการทำงานอย่างมีระบบ

มีแบบแผนที่ดีก่อนจะมีการปฏิบัติจริง

5. การตัดสินใจ (Decision Maklng) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่รูปแบบ TU มุ่งพัฒนาผู้เรียน

ทางด้านการตัดสินใจโดยใช้เหตุผล ให้ผู้เรียนสามารถลำดับความสำคัญ ความจำเป็นของ

สิ่งต่าง ๆ ที่นำมาประกอบการตัดสินใจเพื่อให้การตัดสินใจนั้นดีที่สุด

บทบาทของครูในชั้นเรียนเมื่อใช้รูปแบบ TU

การใช้การสอนแบบ TU ในชั้นเรียนนั้น ครูผู้สอนจะต้องมีทักษะพื้นฐานต่าง ๆ ดังนี้

1. ความรู้เรื่องจิตวิทยาพัฒนาการของเด็ก กล่าวคือ ครูผู้สอนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ

ในภาวะความเจริญเติบโตของเด็กในแต่ละช่วงอายุของเด็กทีตนเองกอาลังสอนอยู่

2. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน

3. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

4. มีการวางแผนที่ดี

5. มีความรู้ในการใชึ่สอการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

6. มีความรู้เรื่องการจัดการห้องเรียนให้เหมาะสมกับสภาพและเนื้อหาที่สอน

ลำดับขั้นการสอนแบบ TU

1. สร้างแรงจูงใจ (Motivatlon)

ครูผู้สอนอาจจะทบทวนพฤติกรรมการสอนที่ตนเองต้องการจะสอน เช่น ทบทวน

พฤติกรรมการสื่อสาร การตัดสินใจ การวางแผน ซึ่งอาจถือว่าเป็นการนำเข้าสู่บทเรียนอีกวิธีหนึ่ง

2. ครูบรรยาย (Teacher Talk)

ครูผู้สอนจะเป็นผู้บรรยายเพื่อกำหนดสถานการณ์ในขั้นนี้ว่าจุดประสงค์ของกิจกรรม

คืออะไร วิธีการจะเป็นอย่างไร จะต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อให้เป็นไปตามเนื้อหาและจุดประสงค์ที

ตัองการจะสอน

3. การตอบสนองของเด็ก (studentS Response)

ครูผู้สอนต้องคาดหวังถึงการตอบสนองของเด็กว่าต้องการให้เด็กตอบสนองกิจกรรม

ในลักษณะใด เพื่อเตรียมอุปกรณ์ในการรับการสอบสนองนั้น เช่น คาดหวังว่าเด็กจะตอบสนอง

เป็นคำต่าง ๆ ครูก็ควรเตรียมแผ่นชาร์ตเพื่อเขียนคำเหล่านั้น

4. ให้การเสริมแรง (Relnforcement)

เมื่อนักเรียนตอบสนองกิจกรรมได้ตามความคาดหวัง ครูต้องให้กำลังใจ เช่น คำชม

รางวัล หรือให้แลกเปลี่ยนงานซึ่งกันและกัน

5. การเชื่อมต่อ (Extenslon)

ครูผู้สอนอาจให้นักเรียนทำกิจกรรมอื่นเพื่อเชื่อมต่อกิจกรรมที่เพิ่งทำเสร็จเมื่อเป็นการ

ทบทวนหรือย้ำความคิดอีกครั้ง

เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกวิธีสอน

เนื่องจากวิธีสอนมีหลายวิธี ทุกวิธีมีประโยชน์ในการนำมาใช้สอนทั้งสิ้น ข้อสำคัญใน

การนำมาใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมจึงจะได้ผล การเลือกวิธีสอนจึงเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญูของ

การสอนผู้ใช้ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ

เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้วิธีสอนมีดังนี้

1. วิธีสอนที่นำมาใช้ เหมาะสมกับความสามารถ ความรู้ในเนื้อหาวิชา และความสนใจ

ของครู วิธีใดก็ตามถ้าคูรเห็นว่านำมาใช้ได้ผล คูรมีความพอใจในการที่นำมาใช้ก็ควรใช้วิธีนั้น

ถ้าครูยังไม่มั่นใจ ไม่รู้สึกสนุก มองไม่เห็นแนวทางที่ดีพอ ก็ไม่ควรนำวิธีนั้นมาใช้สอน เพราะจะ

ไม่เกิดผลดีทั้งนักเรียนและครู และจะทำให้นักเรียนเสื่อมศรัทฑในครูผู้สอนไปด้วย

2. วิธีสอนที่ครูพิจารณาเลือกมาใช้นั้นต้องเหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน วิธี

สอนบางวิธีเหมาะกับเด็กบางวัยเท่านั้น ครูจะต้องพิจารณาดูว่า วิธีสอนที่ครูพิจารณาเลือกมาใช้

สอนเหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะของเด็กที่ครูจะสอนหรือไม่ เช่น วิธีสอนแบบบรรยายนาน ๆ ไม่

เหมาะกับเด็กชั้นประถม เป็นต้น

3. วิธีสอนที่นำมาใช้ ต้องพิจารณาให้เหมาะสมสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการสอน

เช่น ครูกำหนดจุดประสงค์ให้นักเรียนสามารถทำงานเป็นกลุ่มไดู้ รู้จักแก้ปัญหาร่วมกัน ครูควร

ใชิวธีสอนแบบแก้ปัญหา ควรจะต้องพิจารณาลักษณะวิชา แต่ละตอนของเนื้อหาวิชา มุ่งให้

นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย หรือทักษะพิสัย ครูต้องพิจารณาเลือกวิธีสอน

ต่าง ๆ ให้เหมาะสม ในอันที่จะให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด

ควรจะกำหนดจุดประสงค์ไว้ดีเลิศเพียงใดก็ตาม ถ้าครูไม่มีวิธีการที่ดีในการที่จะให้

บรรลุจุดประสงค์ จุดประสงค์ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร วิธีสอนจึงเป็นสิ่งสำคัญในอันที่จะให้บรรลุตาม

จุดประสงค์

4. วิธีสอนต้องพิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับเนื้อหาวันเวลา และสถานที่ทีจะใช้สอนเช่น

วิธีสอนที่ต้องใช้เวลามาก แต่คูรมีเวลาจำกัดก็ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ หรือควรจะใช้วิธีสอนแบบ

สาธิตแต่สถานที่สอนไม่เหมาะ นักเรียนไม่สามารถมองเห็นการสาธิตได้อย่างทั่วถึง วิธีสอนแบบ

สาธิต ไม่ เหมาะ

5. เลือกใช้วิธีสอนให้เหมาะสมกับอุปกรณ์และสภาพแวดล้อม นักเรียนจะเรียนได้ผลดี

จากอุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น หาได้ง่าย การสำรวจค้นหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโรงเรียนและ

ชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญู ครูต้องพิจารณาเลือกใช้วิธีสอนให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เกิดผล

การเรียนรู้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกให้นักเรียนสนใจและสังเกตสิ่งแวดล้อมของตนยิ่ง

ขึ้นด้วย (สุวัฒน์ มุทธเมธา. 2523 : 21 9-221 )

สรุป

จะเห็นได้ว่าวิธีสอนแบบต่าง ๆ เป็นกระบวนการที่ครูจำเป็นต้องนำมาใช้สอน

นักเรียนให้เกิดประสิทธภาพ และถือเป็นภาระหน้าที่ของครูผู้สอนที่จักนำวิธีสอนทั้ง 2

ประเภทใหญ่ ๆ คือ วิธีสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางและวิธีสอนแบบผู้เรียนเป็นสำคัญ

ตลอดจนวิธีสอนแบบต่าง ๆ ที่เอื้อต่อหลักสูตรมาพิจารณาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการ

เรียนการสอนในแต่ละกลุ่มวิชาและ สนองความต้องการของนักเรียนแต่ละวัย แต่ละระดับ

46 ความคิดเห็น:

  1. สนใจตรงประเด็นที่ว่า การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ การจัดการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ เกิดความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ไปบูรณาการใช้ในชีวิตประจำวัน และมีคุณสมบัติตามกับเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่ต้องการให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข เพราะการจัดการเรียนการสอนที่เน้ผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น ประโยชน์สูงสุดที่ได้รับคือตัวผู้เรียนเอง ความรู้ต่างๆที่ได้ต้องควบคู่กับการเป็นคนดี และทำแล้วต้องมีความสุขด้วย ไม่ใช่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญก็จริง แต่ผู้เรียนไม่ได้รับความรู้อะไรเลย ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่ต้องทำตามแนวทางที่ผู้สอนบอก ซึ่งเป็นแนวทางที่ผู้เรียนไม่ชอบ มัันอาจจะทำให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ เกิดความเข้าใจก็จริง แต่ผู้เรียนไม่มีความสุขกับการเรียนรู้เลยก็ได้ ดังนั้น การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญ จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายๆด้านที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อผู้เรียนจะได้เป็นทั้ง คนเก่ง คนดี มีความสุข


    เอมาพร หวลหอม (G3)
    ID 50411356 เลขที่ 40

    ตอบลบ
  2. ประเด็น...เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกวิธีสอน
    เนื่องจากวิธีสอนมีหลายวิธี ทุกวิธีมีประโยชน์ในการนำมาใช้สอนทั้งสิ้น ข้อสำคัญใน
    การนำมาใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมจึงจะได้ผล การเลือกวิธีสอนจึงเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญูของ
    การสอนผู้ใช้ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ


    หลายครั้งที่การจัดการเรียนการสอนล้มเหลว เพราะวิธีการสอนไม่เหมาะแก่ผู้เรียน
    ครูจึงควรให้ความสำคัญกับบริบทของโรงเรียน และตัวนักเรียน

    การจัดการสอนสอดคล้องกับตัวผู้เรียน จะช่วยให้การเรียนสัมฤทธิ์ผล

    รัชนี นันทา G5
    50410786 เลขที่27

    ตอบลบ
  3. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นประเด็นที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว เพราะเป็นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้คือได้ลงมือปฏิบัติ ส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกคิด วิเคราะห์ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ การเรียนรู้แบบนี้ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและยังทำให้เกิดความรู้ที่คงทนมากกว่าการเรียนรู้ที่เป็นการป้อนให้ผู้เรียนเยงอย่างเดียว การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในความคิดของดิฉัน ดิฉันว่า ไม่ได้หมายความว่าครูไม่มีบทบาท ครูยังมีบทบาท แต่จะเป็นบทบาทในการจัดการเรียนการสอน การวางแผนการจัดกิจกรรม หรือแม้กระทั้งการเตรียมสื่อการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

    G1สุพรรษา สิงห์ุฒ 50410960

    ตอบลบ
  4. เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกวิธีสอน
    เนื่องจากวิธีสอนมีหลายวิธี ทุกวิธีมีประโยชน์ในการนำมาใช้สอนทั้งสิ้น ข้อสำคัญใน
    การนำมาใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมจึงจะได้ผล การเลือกวิธีสอนจึงเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญูของ
    การสอนผู้ใช้ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ
    ประเด็นนี้ก็มีความสำคัญ

    การจักการเรียนการสอนหลายครั้งที่เกิดความล้มเหลว เพราะความไม่เหมาะสมของบทเรียนกะตัวผู้เรียน ครูจึงควร
    ศึกษาบริบทของนักเรียนและโรงเรียนให้ดีก่อน การจัดการเรียนการสอนจะได้มีความสอดคล้องกับตัวผู้เรียน

    รัชนี นันทา G5
    50410786 เลขที่ 27

    ตอบลบ
  5. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

    เมื่อเราเรียนรู้ว่าการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ว่า เป็นการให้ความสำคัญกับผู้เรียน ฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองแล้วนั้น

    ประเด็นที่ว่า การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ก็มีความน่าสนใจไม่น้อยเลย เพราะเราควรที่จะมีเทคนิคในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการพิดพลาดได้ และผลที่ได้ก็จะมีประสิทธิภาพอีกด้วย

    สิริญญา ทิพย์ชาญ G3
    50410908 เลขที่ 28

    ตอบลบ
  6. ในลำดับขั้นการสอนแบบTU ในการสร้างแรงจูงใจ (Motivatlon)
    จะเป็นการทบทวนพฤติกรรมการสอนที่ตนเองต้องการจะสอน เช่น ทบทวนพฤติกรรมการสื่อสาร การตัดสินใจ การวางแผน ซึ่งอาจถือว่าเป็นการนำเข้าสู่บทเรียนอีกวิธีหนึ่ง ในการสร้างแรงจูงใจได้ดีที่สุดก็ควรจะสร้างแรงจูงใจจากสิ่งที่ตัวผู้เรียนสนใจอยู่แล้ว เพราะว่าแรงจูงใจจะเป็นตัวกระตุ้นและเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อให้ได้สิ่งนั้นๆมา


    นางสาวอัจฉริยา บุญยืน
    รหัส50411349 G5

    ตอบลบ
  7. การเรียนรู้จากการได้คิดและลงมือปฏิบัติจริง น่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้พัฒนาศักยภาพของตนเองค่อนข้างสูง เพราะผู้เรียนจะมีการฝึกการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาและหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นการฝึกทักษะในด้านต่างๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เรียกว่าการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในสิ่งนั้นๆอย่างแท้จริงไม่ใช้การอ่านจากในตำราเพื่อทำความเข้าใจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นการฝึกประสบการณ์ของผู้เรียนอีกด้วย.......


    นางสาวนัดดา เก๊าทอง
    ID.50411257 G6

    ตอบลบ
  8. การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น "ความเข้าใจผู้เรียน" เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการจัดการเรียนการสอนจะมีการวางแผนการเรียนการสอน โดยเน้นที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เองได้ เกิดความกระตือรือร้นด้วยการค้นพบด้วยตัวของเขาเอง พื้นฐานที่ดีก็คือตัวของผู้เรียนเองสำคัญที่สุด ว่าผู้เรียนมีความรู้มากแค่ไหน ชอบการเรียนด้วยวิธีใด ครูผู้สอนควรนำวิธีการใดมาปรับใช้ให้เข้ากับผู้เรียน ก่อนจะนำไปสู่ขั้นตอนต่างๆได้นั้น ผู้สอนต้องมีความเข้าใจในตัวผู้เรียน เช่น ลักษณะนิสัย ความรู้เดิม หรือแม้กระทั่งความต้องการของผู้เรียนเองก็ตาม ล้วนมีความสำคัญในการนำมาพิจารณาในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้กิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้สอนสร้างขั้นมาบรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วตนเอง มีความสนใจ กระตือรือร้นในการเรียน เกิดความรู้ความเข้าใจ ที่สำคัญสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตของนักเรียนเอง เพราะการจัดประสบการณ์ใหม่ๆ ผู้เรียนจะไม่เบื่อหน่ายในการเรียน


    นางสาวชุติมา ลัดนอก G6
    Id 50411240

    ตอบลบ
  9. ทำได้ดีมากทุกคน เพราะสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่นี้คือ Student-Centered ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

    ตอบลบ
  10. ประเด็น:: ความแตกต่างในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูสมัยเก่ากับครูสมัยใหม่(จากตารางเปรียบเทียบ)

    ครูสมัยใหม่ควรนำแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจากครูสมัยเก่ามาประยุกต์ใช้ และปรับให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนของตนเอง...
    เช่น ในความแตกต่างข้อที่ 8 ครูสมัยใหม่จะมีการทดสอบเล็กน้อย แต่ครูสมัยเก่าจะมีการทดสอบสม่ำเสมอเป็นระยะ ๆ ในข้อนี้ ครูสมัยใหม่น่าจะนำของครูสมัยเก่ามาใช้ เพื่อจะได้วัดความรู้ความเข้าใจของนักเรียนได้ตลอด และช่วยย้ำความเข้าใจของผู้เรียนด้วย...และจะได้รู้ว่าควรเน้นส่วนใด ให้แก่ผู้เรียน..ซึ่งผู้เรียนก็จะได้ความรู้ตรงตามความต้องการมากขึ้น


    นางสาว พัสตราภรณ์ คำจันทร์ รหัส 50411288 (G7)

    ตอบลบ
  11. จากบทความข้างต้น ผมมีประเด็นดังนี้

    จากการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่ในปัจจุบันมันก็ยังไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ เพราะว่า ความหมายของ Child Center คือ การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่างๆอย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างแท้จริง แต่ความเป็นจริงในปัจจุบันมันคือการเรียนการสอนแบบ ควายเซนเตอร์ เพราะ อาจารย์บางท่านได้ใช้วิธีสอนคือ ปล่อยให้นักเรียนเรียนกันเองอย่างไม่มีจุดหมาย เช่น วิชาคณิต ก็ เข้ามาเขียนโจทย์แล้วก็ออกไปให้เด็กคิดเองทำเอง แต่ไม่มีแนวทางอะไรเลย เด็กก็ไม่สามารถเรียนเองได้ ที่นี้ตัวเด็กเองก็จะเป็นควาย เลยล่ะคับ

    นายพลวิชญ์ วัยวุฒิ 50410694 (G1)

    ตอบลบ
  12. จากตารางเปรียบเทียบลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูสมัยใหม่กับครูสมัยเก่า "ใช่ว่าการสอนแบบสมัยเก่าจะไม่ดีเสมอไป" ยกตัวอย่างเช่นข้อที่
    >> ครูสมัยใหม่6. มีการเสริมแรงหรือให้รางวัลมากกว่าการลงโทษมีการใช้แรงจูงใจภายใน และ
    >> ครูสมัยเก่า 6. มุ่งเน้นการให้รางวัลภายนอก เช่น เกรดแรงจูงใจภายนอก


    ปกติแล้วคนที่เรียนก็หวังจะได้เกรดดีๆกันทั้งนั้น ซึ่งผิดจากการคาดการณ์ของผู้ใหญ่ที่มองว่าผู้เรียน เรียนเพื่อให้ได้ความรู้ เรียนจากแรงจูงใจภายใน ซึ่งบางคนก็อาจจะใช่ แต่ที่ดิฉันเจอมาเกือบ100% เป็นแบบสมัยเก่าทั้งนั้น ทุกคนต้องการเกรดที่ดีๆจากการที่ได้ทุ่มเทตั้งใจเรียน แต่เกรดที่ออกมาไม่เป็นไปอย่างยุติธรรม หลายคนผิดหวัง ก็เสียใจเป็นธรรมดา และต้องปรับความรู้สึกให้ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะทำอะไรไม่ได้ จะไปท้วง ติติงคนให้เกรดก็กะไรอยู่ เดี๋ยวจะมีปัญหากันเปล่าๆๆ แต่ลึกๆๆแล้วทุกคนก็อยากมีความรู้ประดับสมอง ไว้ใช้ประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างสบาย ดังนั้นครูผู้สอนควรที่จะศึกษาข้อเท็จจริงด้วยว่าผู้เรียนคนไหน เรียน ไม่เรียน ตั้งใจ ไม่ตั้งใจ ควรที่จะต้องเป็นสภาพความเป็นจริง

    นางสาวอลิษา หาดนิล 50411332 (G5) ค่ะ

    ตอบลบ
  13. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  14. การพิจารณาเลือกใช้วิธีการสอน
    วิธีการสอนมีอยู่หลายวิธี ผู้สอนจึงต้องเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับเนื้อหาการเรียน ตัวผู้เรียน เวลา อุปกรณ์ สถานที่ ทุกอย่างที่เป็นองค์ประกอบของการสอน ล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาเลือกวิธีการสอน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการเรียนรู้


    นางสาวกรรณิกา ค่วงคำ
    50411202 G7

    ตอบลบ
  15. จากเปรียบเทียบลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูสมัยใหม่กับครูสมัยเก่าก็จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน

    ผมคิดว่าในส่วนของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูสมัยใหม่เป็นสิ่งที่ดีและจำเป็นต่อตัวนักเรียนเป็นอย่างมากในสมัยใหม่ เพราะมีการบูรณาการ ผสมผสานหลาย ๆ รูปแบบเข้าด้วยกันโดยไม่ได้ออกนอกกรอบของเนื้อหารายวิชานั้น ๆ ทำให้ตัวนักเรียนได้มีการพัฒนาการและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดีในอนาคต


    50410670 พงษ์ศักดิ์ วิมุติ G6

    ตอบลบ
  16. แนวคิดของการสอนแบบพัฒนาความสามารถเฉพาะ
    เป็นการสอนที่เน้นการดึงความสามารถของบุคคลที่มีความแตกต่างกัน การสอนแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนเกิดความถนัดและการพัฒนาความสามารถของตนเองได้ดี

    นายพิษณุ ศิริสวัสดิ์พิพัฒน์
    50410700 เลขที่ 25 G4

    ตอบลบ
  17. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  18. สนใจประเด็น การสอนแบบ TUหรือแนวคิดของการสอนแบบพัฒนาความสามารถเฉพาะ ในลำดับขั้นที่ 4ให้การเสริมแรง (Relnforcement)มีความเห็นด้วย เพราะการเสริมแรงจะช่วยให้ผู้เรียนตั้งใจที่จะเรียนรู้มากขึ้น แต่การเสริมแรงนั้นต้องมีวิธีที่ถูกต้องด้วย อย่างเช่นการชมนักเรียนที่ทำงานออกมา ต้องชมว่ามีความพยายามดีมาก จะช่วยให้ผู้เรียนพยายามที่จะเรียนรู้เรื่อยๆ ซึ่งตรงข้ามกับการชมที่ว่าผู้เรียนเก่งมาก จะเป็นการทำให้ผู้เรียนไม่อยากที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพราะกลัวว่าถ้าทำผิด หรือทำไม่ดีเหมือนเก่าก็จะกลายเป็นคนโง่ แต่อย่างไรการเสริมแรงนั้นเป็นการให้กำลังใจที่ดีแก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

    เอมาพร หวลหอม (G3)
    ID 50411356 เลขที่ 40

    ตอบลบ
  19. ประเด็น...ทฤษฎี Constructivism

    ทฤษฎี Constructivism ได้เน้นการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดขึ้นกับนักเรียนเอง วิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสม คือ การเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Learning) และการเรียนรู้จากกลุ่ม (Cooperative Learning) ซึ่งต้องนำวิธีการสอนทั้ง 2 วิธี มาประกอบกัน จึงจะทำให้ทฤษฎี Constructivism ประสบความสำเร็จในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ผู้สอนที่จะจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎี Constructivism ควรออกแบบการเรียนการสอนเพื่อที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการแก้ปัญหาที่มีความหมายจริง ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ผู้สอนควรจัดเตรียมกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและได้คิด แก้ปัญหาต่างๆ และผู้สอนก็จะคอยช่วยเหลือโดยการแนะแนวทางในการปฏิบัติงานควบคู่ไปด้วย.........


    นางสาวนัดดา เก๊าทอง
    ID.50411257 G6

    ตอบลบ
  20. ทราบถึงวิธีการสอนในแบบ การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รูปแบบ กระบวนการ การใช้เทคนิด ปัญหา ของการสอนในอีกรูปแบบหนึ่ง รู้บทบาทหน้าที่ของผู้สอน และผู้เรียน ในการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.. - -*

    ตอบลบ
  21. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  22. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน

    การจัดการเรียนการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น มีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่ตัวนักเรียนจะต้องมีความรับผิดชอบต่อบทบาทและหน้าที่ของตน การจัดการเรียนการสอนแบบนี้จะประสบความสำเร็จไม่ได้หากนักเรียนไม่ให้ความร่วมมือ เพราะกิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ เน้นให้ผู้เรียนฝึกค้นคว้า และลงมือปฏิบัติจริง


    น.ส.สุมิตรา อันทะปัญญา
    50411325 G7

    ตอบลบ
  23. ผู้ขอเสนอความคิดเห็นดังนี้ครับ

    ในการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น ผมคิดว่าน่าจะเป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัตืจริง กระทำจริง เพื่อเกิดประสบการณ์ หรือเกิดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน โดยที่ครูเป็นผู้ที่คอยชี้แนะ และออกแบบกิจกรรมเพื่อให้เกิดความรู้แก่ผู้เรียนอย่างมากที่สุด

    นาย อลงกรณ์ เซนักค้า 50411028

    ตอบลบ
  24. การเลือกวิธีสอน

    การเลือกวิธีการสอนของครูเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากนักเรียนแต่ละคนมีความสามารถและความสนใจที่แตกต่างกัน ทั้งด้านวัยและวุฒิภาวะ ครูจึงควรเลือกวธีการสอนให้เหมาะสมจึงจะสามารถทำให้การเรียนการสอนนั้นสัมฤทธิ์ผลได้ดี

    น.ส.สุมิตรา อันทะปัญญา
    50411325 G7

    ตอบลบ
  25. เราน่าสามารถนำวิธีการสอน ทั้งสมัยใหม่ และสมัยเก่า มาผสมกันได้เพราะแต่ในละรายวิชา วิธีการสอนก็มีความแตกต่างกันการเรียนรู้ก็ต่าง

    และในการสอนแต่ละแบบก็มีข้อดีต่างกัน ถ้านำมาบูรณาการกันได้ คงจะเป็นเรื่องที่ดีมาก



    รัชนี นันทา 50410786 G5

    ตอบลบ
  26. ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการเน้นให้มีการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลายเพื่อสอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความแตกต่างของผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนก็จะได้มีส่วนร่วมในการกำหนดสิ่งที่จะเรียนรู้ ทำกิจกรรม และปฏิบัติจริง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต้องเลือกใช้รูปแบบการสอน วิธีการสอน และเทคนิคการสอนที่เหมาะสมหลากหลายประกอบกัน และไม่ควรที่จะยึดถือเฉพาะรูปแบบ วิธีการ หรือเทคนิคการสอนอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ที่สำคัญควรที่จะคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ และประสบการณืเดิมของผู้เรียนแต่ละคนด้วย


    นางสาวอัจฉริยา บุญยืน
    G5 ID 50411349

    ตอบลบ
  27. ไม่ระบุชื่อ1 ธันวาคม 2552 เวลา 07:48

    การเรียนรู้จากการได้คิดและลงมือปฏิบัติ

    การเรียนรู้ทฤษฎีเพียงอย่างเดียว ผู้เรียนอาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนได้มากเท่าใดนัก แต่การเรียนไปพร้อมกับการปฏิบัติจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง รวมทั้งเป็นการฝึกทักษะปฏิบัติให้กับตัวผู้เรียนด้วย ทำให้เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน ไม่ใช่เป็นเพียงการท่องจำทฤษฎี


    นางสาวกรรณิกา ค่วงคำ
    50411202 G7

    ตอบลบ
  28. ประเด็น..ตัวบ่งชี้ที่บอกถึงลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียน
    การเรียนรู้อย่างมีความสุข ดิฉันคิดว่า การเรียนรู้อย่างมีความสุขเป็นสิ่งสำคัญ
    ก่อนที่ครูจะรู้ว่าผู้เรียน เรียนแล้วมีความสุขหรือไม่ผู้สอนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับผู้เรียน ความสามารถ สติปัญญาเพื่อที่ครูผู้สอนจะได้เลือกแบบและวิธีการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียน เรียนแล้วมีความสุข เกิดการที่ใฝ่รู้ อยากเรียนในสิ่งที่ตนเรียนแล้วมีความสุข

    นางสาวยุพาวดี มหาหิง
    G5 ID 50410779

    ตอบลบ
  29. ไม่ระบุชื่อ1 ธันวาคม 2552 เวลา 08:48

    การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในส่วนหนึ่งก็มีการกำหนดกิจกรรมให้ผู้เรียนทำ ที่บอกว่าผู้สอนควรที่จะหากิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ที่มีพื้นฐานที่แตกต่างกันมันเป็นเรื่องที่ยากเหมือนกัน เพราะการที่จะจัดกิจกรรม ให้เหมาะสมกับแต่ละคนต้องใช้หลายรูปแบบ สำหรับห้องเรียนหนึ่ง ๆ ดังนั้นครูผู้สอนต้องศึกษาถึงพื้นฐานและความต้องการของเด็กให้ดี เพราะผู้สอนต้องเลือกกิจกรรมที่เหมาะกับคนส่วนมาก และจัดการเรียนการสอนให้หลากหลาย เพื่อให้เกิดความสนุก และกระตุ้นให้เกิดความสนในการเรียน


    นางสาวชุติมา ลัดนอก
    Id 50411240 G6 " ^_^ "

    ตอบลบ
  30. ~~! จากวันนี้ที่เรียนในห้องเรียน ทำให้ดิฉันมีความรู้ใหม่คือเรื่องทฤษฎีการเรียนรู้ Constructionism ซึ่งจะเน้น ในเรื่องของการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติเอง ของผู้เรียน ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ด้วย ^^

    นางสาวอลิษา หาดนิล 50411332 (G5) ค่ะ

    ตอบลบ
  31. ^^ การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นรูปแบบการสอนที่สำคัญมาก และ ครูผู้สอนคงจะต้องศึกษาครูจึงต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลายๆด้าน และในการจัดการเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (dynamic) คือจะต้อง มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในด้านการจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศ รูปแบบเนื้อหาสาระ เทคนิค วิธีการ เพื่อให้ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่าย และง่วง เพื่อให้เกิดความรู้จนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้

    นางสาวอลิษา หาดนิล 50411332 (G5) ค่ะ

    ตอบลบ
  32. จากที่เพื่อนอภิปรายในชั้นเรียน ทำให้ทราบความแตกต่างระหว่างการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญกับการสอนโดยการป้อนข้อมูลใหเด็กอย่างเดียว ซึ่งการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น สามารถเห็นได้ชัดว่าจะทำให้เด็กเป็นผู้คิด วิเคราะห์ มากว่าการเรียนแบบการป้อนข้อมูลให้เด็กนักเรียนอย่างเดียว

    นายพิษณุ ศิริสวัสดิ์พิพัฒน์
    50410700 เลขที่ 25 G4

    ตอบลบ
  33. จากที่เรียนเมื่อวานนี้ ก็ทำให้ได้รู้ว่า การเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น ครูก็สำคัญเช่นกัน เพราะครูต้องเป้นผู้สนับสนุน ต่อนักเรียน โดยเฉพาะด้านการเลือกใช้รูปแบบการสอนต้องเหมาะสมกับผู้เรียนต้องพิจารณาให้เหมาะสมสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการสอนด้วย

    ตอบลบ
  34. จากเมื่อวานที่เรียนก็มีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ
    แนวคิดของการสอนแบบพัฒนาความสามารถเฉพาะ
    การสอนแบบ TU ที่มุ่งเน้นพัฒนาความสามารถเฉพาะของผู้เรียน
    มุ่งให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในทักษะที่ตัวผู้เรียนถนัด ในความคิดของผมคิดว่า เป็นการสอนที่ดีอีกแบบหนึ่งเพราะผู้เรียน จะได้ทักษะการคิด การสื่อสาร การคาดเดา การวางแผน การตัดสินใจ สามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิตได้

    นายพงศ์พิสุทธิ์ ทองสุข 50410663 เลขที่ 22 G1

    ตอบลบ
  35. การเลือกวิธีการสอนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญ ต้องเลือกวิธีการสอนที่ตัวครูมีความสนใจและเข้าใจ จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมในหลายๆด้านเช่นต้องเหมาะสมกับความสามารถแต่ละช่วงวัยของเด็ก สอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหา เวลารวมไปถึงสภาพแวดล้อมด้วย ทั้งนี้เพื่อจะทำให้การสอนประสบความสำเร็จ
    ดังนั้นครูควรที่จะวิเคราะห์ผู้เรียน และวิเคราะห์สิ่งต่างๆที่กล่าวไปข้างต้น เพื่อที่จะเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสมมาใช้

    G1 นางสาวสุพรรษา สิงห์พุฒ 50410960

    ตอบลบ
  36. หลังจากการได้ศึกษา เรื่องการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แล้ว
    รู้สึกสนใจทฤษฎี่อาจารย์ยกตัวอย่างให้ดู คือ ทฤษฎี Constructionism เรื่องการเรียนรู้แบบ (Learning by doing) คือ..การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อได้รับประสบการณ์ตรงหรือลงมือทำด้วยตนเอง..ซึ่งเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง...น่าสนใจมาก....ทฤษฎีนี้น่าจะนำมาประยุกต์ใช้ บูรณาการกับ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้!!

    ตอบลบ
  37. พัสตราภรณ์ คำจันทร์ รหัส 50411288 ( G7)

    ตอบลบ
  38. หลังจากที่ได้ฟังเพื่อนๆรายงานแล้ว การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตัวผู้สอนถึงแม้จะเปลี่ยนสถานะจากผู้ที่บรรยายอย่างเดียวมาเป็นผู้ที่คอยอำนวยความสะดวกในการสอน แต่ว่าตัวผู้สอนเองจำเป็นต้องมีความรู้ที่แน่นในเนื้อหาพอสมควร เพื่อจะเป็นผู้คอยแนะนำแนวทาง หรือ เป็นที่ปรึกษาที่ดี และสามารถทำให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จได้

    นายพลวิชญ์ วัยวุฒิ 50410694 (G1)

    ตอบลบ
  39. การวางแผนดีผลที่ได้รับมักสำเร็จลงด้วยดีเสมอ ดังนั้นนักบริหารแลบุคคลต่างๆที่ ได้รับความสำเร็จในอาชีพของตน มักมีการเตรียมการล่วงหน้าหรือวางแผนกันอย่างรอบคอบ ในเรื่องของกระบวนการเรียนการสอนก็เช่นกัน

    ดังข้อความที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า ในเรื่องของกระบวนการเรียนการสอนถ้ามีการวางแผนหรือมีแผนการเรียนการสอนที่ดี ไม่ใช่ว่าครูจะประสบความสำเร็จเพียงอยบ่างเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ยังรวมไปถึงตัวผู้เรียนก็คือตัวนักเรียนนนั่นเองยังได้ผลสำเร็จตามขั้นตอนและแบบแผนที่ได้วางไว้ ทำให้นักเรียนได้มีความรู้ความสามารถตามขั้นตอนที่หลักสูตรได้จัดขึ้นไว้ เหมือนคำสุภาสิตที่ว่า ยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัวนั่นเอง


    50410670 พงษ์ศักดิ์ วิมุติ G6

    ตอบลบ
  40. คิดว่า..เนื้อหา วิชามีความสำคัญและมีความหมายต่อการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรเลือกเนิ้อหาวิชาให้เหมาะสมแก่เด็ก เหมาะสมแก่วัยและสำคัญต้องทันสมัย ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน เพื่อที่นักเรียนจะได้เห็นเหตุการณ์จริง ก็จะได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองด้วย ครูควรที่จะเลือกเทคนิคการสอนให้เข้ากับเนื้อหาและมีการสอนที่ไม่น่าเบื่อ และให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนให้ได้มากที่สุด...

    นางสาวยุพาวดี มหาหิง

    G5 ID50410779

    ตอบลบ
  41. ความคิดเห็นว่าดังนี้

    หัวใจหลักของการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือการจัดการให้ผู้เรียนได้ประสบการณืตรงมากที่สุด
    ให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนมากที่สุด


    นายอลงกรณ์ เซนักค้า

    ตอบลบ
  42. จากที่ได้ฟังเพื่อนบนนยายในชั้นเรียนแล้วนั้น ดิฉันสนใจประเด็น การที่ครูใช้วิธีการสอนแบบ “ปูพรม” โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน ที่มีความสามารถในการรับรู้ที่แตกต่างกัน ซึ่ง ผู้สอนควรคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนด้วย โดยจัดการเรียนสอนที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนทุกคน ไม่ใช่บางคน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

    สิริญญา ทิพย์ชาญ G3
    50410908

    ตอบลบ
  43. The content here is sublime, and I want to thank the writer who's shared this content here. I can use this content to complete one of my latest projects on this subject. I am extremely pleased with the work done here. 먹튀폴리스

    ตอบลบ
  44. T-Shirt - Used ford Fusion Titanium - Titanium Art
    T-Shirt. T-Shirt. babyliss pro nano titanium hair dryer T-Shirt. titanium nipple bars T-Shirt. T-Shirt. T-Shirt. microtouch solo titanium T-Shirt. T-Shirt. T-Shirt. T-Shirt. T-Shirt. T-Shirt. T-Shirt. T-Shirt. T-Shirt. titanium alloy nier replicant T-Shirt. T-Shirt. titanium blue ps4 controller

    ตอบลบ